1086 Views |
ในปัจจุบัน สังคมมนุษย์ ดำรงอยู่กับธุรกิจและการแข่งขัน เสมือนว่าดาวดวงนี้ที่ชื่อว่า โลก ปัจจุบันได้ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเศรษฐกิจและการเติบโตทางธุรกิจที่ไม่อาจหยุดนิ่ง. บุคคลหลายต่อหลายท่านกลายเป็นผู้ประสบความสำเร็จในหลากหลายธุรกิจและหนึ่งในธุรกิจสำคัญที่วันนี้เราจะพูดถึงคือ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” หนึ่งในธุรกิจที่มีประวัติศาสตร์ในตัวเองมายาวนานประเทศไทยในยุค 4.0 ณ ปัจจุบัน เป็นยุคแห่งความก้าวหน้าและเทคโนโลยี แม้จะเกิดภาวะปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ นา ๆ ทั้งจากภายในและนอกประเทศ “ธุรกิจอสังหาฯก็ยังคงอยู่คู่คนไทย” หลายท่านอาจคุ้นหูกับคำ ๆ นี้ นักธุรกิจหลายต่อหลายท่านประสบความสำเร็จจากธุรกิจนี้ บางคนผันตัวเองเป็นผู้พัฒนาโครงการ และอีกหลายต่อหลายคนชอบที่จะลงทุน ซื้อมาขายไปแลกเปลี่ยนทำกำไรในธุรกิจที่เป็นทั้งหนึ่งในปัจจัย 4 และเพื่อการพาณิชย์ แต่กระนั้นโดยส่วนมากก็ไปไม่ถึงจุดคุ้มทุน เป็นที่แน่นอนในทุกธุรกิจย่อมมีการพลิกโฉมและมีการเปลี่ยนแปลง ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจอสังหาฯในวันนี้ อสังหาริมทรัพย์หากมอง ณ เวลาปัจจุบันทุกท่านคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นยุคอสังหาฯขาลง เจอทั้งภาวะโควิด-19, ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว บ้างก็อาจใช้คำว่าฝืดเคือง แม้ภาครัฐจะให้การผลักดันสนับสนุนสินเชื่อเพื่ออยู่อาศัยดอกเบี้ยต่ำ แต่หนี้ครัวเรือน และหนี้เสีย (NPL) มีมาก จนธนาคารแห่งประเทศไทยต้องใช้มาตรการ Loan to Value เพื่อป้องกัน และลดภาวะมูลหนี้ก้อนใหญ่ที่อาจกลายเป็นหนี้เสียในอนาคต อสังหาฯจึงจำเป็นต้องวิวัฒน์หรือปรับตัว
“ซื้ออสังหาฯให้เลือกที่ทำเล” หลักพื้นฐานยืนหนึ่งในการเลือกซื้อ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการซื้อของแต่ละบุคคลล เราอาจจะเห็นโฉมหน้าอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบใหม่ ๆ ผ่านตากันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการปล่อยเช่าโดยเฉพาะหรือแม้กระทั้งกลายเป็นรูปแบบโรงแรมในหลากหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็น Leasehold, Ownership, Share Holder Unit, Fractional โดยรวมแล้วอาจเรียกว่า “อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน” ซึ่งส่วนใหญ่อาจฟังไม่คุ้นหูหรือคุ้นตากันสักเท่าไร หากบอกว่า “คอนโดการรันตี Yield” เชื่อว่ามีหลายคนคงตาวาว และมีอีกหลายเสียงที่ไม่เชื่อ บ้างก็ว่าหลอกลวง จนกระทั่งผู้รู้ กูรู โค้ช และอาจารย์หลายท่านได้มาไขความกระจ่างและความแตกต่าง ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถหาข้อมูลได้ตามโพสต์อินเตอร์เน็ตเว็ปไซด์ทั่วไป ตัวผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในคนเหล่านั้นที่ติดตามค้นคว้าหาข้อมูล เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ความกระจ่างชัดเจนก็สุดแล้วแต่บทความข้อมูลนั้น ๆ แต่ยังไม่เคยเห็นบทความไหนที่อธิบายวิธีการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ นี่คือเหตุผลสำหรับวันนี้ที่เราจะค้นหา ปรัชญาการทำงานของ WINVESTOR
? ? ? WINVESTOR PROPERTY ความสงสัยสำหรับชื่อเรียกนี้คงยังไม่หมดไป คงต้องขยายความส่วนนี้กันก่อน ว่าแท้จริงแล้ววินเวสเตอร์ คืออะไร. ตอบสั้น ๆ ได้ใจความ วินเวสเตอร์คือ บริษัทที่วิเคราะห์อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน โดยใช้หลักวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุนเพื่อประเมินความเสี่ยงและผลกำไรสำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ซึ่งขั้นตอนจะมีการตรวจสอบไม่ว่าจะเป็น
ข้อมูลเชิงลึก ประสบการณ์ผู้พัฒนาโครงการ จำนวนทุนจดทะเบียน ผู้ร่วมทุน แหล่งที่มาของเงินทุน จำนวนโครงการและมูลค่าโครงการ ที่ผ่านมาหรือเบื้องหลังผู้พัฒนาโครงการเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่นักลงทุน
การประเมินราคา และความคุ้มค่าในการลงทุน ดูจากทั้งทำเลที่ตั่ง โอกาสในการเกิดคู่แข่งรายใหม่ ลักษณะการถือครองกรรมสิทธิ์ การขออนุญาตก่อสร้าง บริษัทที่ดำเนินการก่อสร้าง คุณภาพวัสดุที่ใช้ก่อสร้างและตกแต่ง สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ กระทั่ง Special Attraction
ตรวจสอบแบรนด์บริหารจัดการ และความสามารถในการสร้างรายได้ ระดับมาตรฐานการบริหาร ชื่อเสียงของแบรนด์บริหาร ลักษณะการเซ็นต์สัญญาว่าจ้างในการบริหาร แพลนการหารายได้ล่วงหน้า สิทธิประโยชน์และผลพลอยได้ต่างๆ
พิจารณาเงื่อนไขสัญญา ประเภทของสัญญา ผลประโยชน์ต่าง ๆ ของสัญญา การชำระเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งก่อนการซื้อขายและระหว่างถือครองกรรมสิทธิ์ การบริการหลังการขายรวมถึงการรับฝากขายหรือเช่า รวมถึงเงื่อไขในการเปลี่ยนสัญญา
เปรียบเทียบผลตอบแทน และความเสี่ยงระยะสั้น กลาง ยาว ในการลงทุน โดยนับตั่งแต่เมื่อชำระเงินจนถึงระยะเวลาการนำทรัพย์สินออกหาผลประโยชน์ ผลตอบแทนหลังการโอนกรรมสิทธิ์ การการันตี และการรับซื้อคืน
โดยในแต่ละหัวข้อจะมีเกณฑ์การตัดเกรดวัดผลออกมาเป็นคะแนน หรือที่เรียก MSIP Score ซึ่งเป็นตัววัดผลสำหรับจัดอันดับ (Ranking) และตัดเครดิต (Credit Rating) เมื่อรู้เช่นนี้แล้วหลายคนคงอยากที่จะตรวจสอบอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครอง หรืออยากที่จะค้นหาอสังหาฯเพื่อการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง ลองปรึกษา Winvestor Property กันดูนะครับ อีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่ตอบโจทย์หลายๆท่าน
วางแผนการลงทุนกับ Winvestor Property
Cr. เด็กหัดโค้ช